จากประสบการณ์การทำงานของธุรกิจเพื่อสังคม a-chieve พบว่า ในปัจจุบันนักเรียนมัธยมไทยจำนวนมากยังขาดโอกาสในการรู้จักตนเองอย่างรอบด้าน รวมถึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและเส้นทางการศึกษาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงความถนัด ความสนใจ และเป้าหมายชีวิตเข้ากับทางเลือกในอนาคตได้อย่างมั่นใจ สถานการณ์นี้นำไปสู่การเลือกคณะ หรือสายการเรียนจากข้อมูลที่ไม่รอบด้าน หรือตามการชี้นำของคนอื่น ส่งผลให้บางส่วนเกิดความลังเล ไม่มั่นใจ หรือเปลี่ยนเส้นทางในภายหลัง ซึ่งอาจกระทบต่อเวลาชีวิต สุขภาพจิตใจและประสิทธิภาพในการเรียนในระยะยาว ต่อเนื่องถึงการเลือกอาชีพ หรือสายงานในอนาคต
จัด “ค่ายเรียนรู้อาชีพกลุ่มอุตสาหกรรม” โดยออกแบบให้เป็น “พื้นที่การเรียนรู้เชิงประสบการณ์” ประกอบด้วย 1) Workshop “ค้นหาตัวเอง”: เกมและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและเชื่อมโยงกับอาชีพ 2) Field Trip: เยี่ยมชมสถานประกอบการจริง เข้าใจกระบวนการและบรรยากาศการทำงาน 3) Job Shadowing: สวมบทบาทลงมือทำงานจริงภายใต้การดูแลต้นแบบอาชีพ 4) AAR Workshop & Portfolio Building: สรุปบทเรียน จัดทำ Portfolio และ Action Plan ประกอบการสมัครเรียนต่อหรือสมัครงาน การจัดชุดกิจกรรมทั้ง 4 โมดูลนี้ จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้ทั้ง ข้อมูลเชิงลึก ประสบการณ์ตรง และ ผลงาน (Portfolio) ที่เป็นรูปธรรม
: 1
: 300,000.00
: A-Chieve
นักเรียนมัธยมปลาย |
||
นักเรียน ม.ปลาย โรงเรียนเอกชนในจังหวัดระยอง 30–50 คน
ขาดประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรม ทำให้ไม่มั่นใจเลือกสายเรียน/อาชีพ และขาด Portfolio ประกอบการสมัครต่อหรือสมัครงาน |
||
1. Workshop “ค้นหาตัวเอง” 2. Field Trip เยี่ยมชมสายการผลิตและโรงงานจริง 3 แห่ง 3. Job Shadowing ลงมือปฏิบัติจริงกับต้นแบบอาชีพ 4. AAR & Portfolio Building สรุปบทเรียนและจัดทำผลงานประกอบการสมัคร |
1. การมีส่วนร่วมของนักเรียน: นักเรียนจำนวน 30–50 คน จาก 3 อุตสาหกรรมเข้าร่วมกิจกรรมครบถ้วน 2. การลงพื้นที่จริง: นักเรียน 10–15 คนต่ออุตสาหกรรม (รวมประมาณ 45 คน) ลงพื้นที่โรงงานจริง 3. นักเรียน 1–2 คนมีพี่ต้นแบบคอยสอนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และเห็นแนวทางการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต 4. มีเครื่องมือสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อการรู้จักตัวเองและการเข้าใจผู้เข้าร่วม 5. นักเรียนได้รับแนวทางการจัดทำ Portfolio/Resume เพื่อนำไปต่อยอดในการใช้สมัครเรียนหรือสมัครงาน 6) ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนและเชื่อมโยงบทเรียนกับเป้าหมายตนเอง เข้าใจจุดเด่น–จุดที่ต้องพัฒนา1. Workshop “ค้นหาตัวเอง” 2. Field Trip เยี่ยมชมสายการผลิตและโรงงานจริง 3 แห่ง 3. Job Shadowing ลงมือปฏิบัติจริงกับต้นแบบอาชีพ 4. AAR & Portfolio Building สรุปบทเรียนและจัดทำผลงานประกอบการสมัคร |
1) ผู้เข้าร่วมเข้าใจจุดแข็ง–จุดอ่อนตัวเองจากการทำแบบสอบถามหลังเวิร์กชอป ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงโจทย์เชิงลึก กับการพัฒนาแผนส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับอาชีพในฝัน 2) ผู้เข้าร่วมรับมุมมองเชิงปฏิบัติและแรงผลักดันตนเอง จากการเรียนรู้แนวทางอาชีพผ่านข้อมูลในพื้นที่จริง ทำให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ และทักษะ (ทั้งhardskills และ softskills) ที่จำเป็นต่อการทำงานในอุตสาหกรรม 3) ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาหรือต่อยอดแนวทางการจัดทำ Portfolio ที่สะท้อนตัวตน เป้าหมาย รวมถึงทักษะและประสบการณ์ เพื่อใช้สมัครเรียนต่อหรือสมัครงานได้อย่างมั่นใจ1. การมีส่วนร่วมของนักเรียน: นักเรียนจำนวน 30–50 คน จาก 3 อุตสาหกรรมเข้าร่วมกิจกรรมครบถ้วน 2. การลงพื้นที่จริง: นักเรียน 10–15 คนต่ออุตสาหกรรม (รวมประมาณ 45 คน) ลงพื้นที่โรงงานจริง 3. นักเรียน 1–2 คนมีพี่ต้นแบบคอยสอนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และเห็นแนวทางการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต 4. มีเครื่องมือสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อการรู้จักตัวเองและการเข้าใจผู้เข้าร่วม 5. นักเรียนได้รับแนวทางการจัดทำ Portfolio/Resume เพื่อนำไปต่อยอดในการใช้สมัครเรียนหรือสมัครงาน 6) ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนและเชื่อมโยงบทเรียนกับเป้าหมายตนเอง เข้าใจจุดเด่น–จุดที่ต้องพัฒนา |
พี่ต้นแบบอาชีพ (Role Models) |
||
วิทยากรต้นแบบอาชีพ 13 คน จากกลุ่มอุตสาหกรรม (ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, อสังหา, Sport Hospitality)
ต้องการสื่อสารองค์ความรู้และประสบการณ์จริง แต่ยังไม่มีกระบวนการแบ่งเบาภาระการเตรียมตัวและสื่อสารกับนักเรียนโดยตรง |
||
สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ และเป็นพี่ต้นแบบอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรม |
||